me

me
wow

วันอาทิตย์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2551

บรรณารักษ์คืออะไร

เหตุผลที่นำมาลง : อยากให้คนอื่นได้อ่านเกี่ยวกับคนที่เรียนบรรณารักษ์ เพราะข้าพเจ้าอยากถ่ายทอดเรื่องที่ดีมีประโยชน์ สำหรับคนอ่านค่ะ อยากให้คนอื่นรับรู้ว่าบรรณารักษ์ในยุคปัจจุบันนั้นไม่ใช่ผู้ที่ไม่ได้มีความสามารถแต่ประการใด คนที่เรียนสายนี้มาค่อนข้างหายาก.. หากคุณไม่รักหรืออยากจะเรียนเกี่ยวกับสายวิชาชีพนี้ ก็คอยให้คุยมองหาทางเดินใหม่ที่ดีกว่าน่ะค่ะ อย่าเสี่ยงมาเดิน เพราะแค่อยากมีที่เรียนเลยค่ะ หวังว่าจะมีประโยชน์ต่อผู้ที่อยากกำลังจะเข้ามหาวิทยาลัยในอนาคตค่ะ
เรียนบรรณารักษ์ จบไปทำอะไร จัดชั้นหนังสือ อยู่ในห้องสมุดหรือ? เพื่อนผู้หนึ่ง ถามด้วยความงงโง่พาซื่อ เมื่อข้าพเจ้าบอกว่าเรียนในสาขานั้นข้าพเจ้าจึงพยายามตอบด้วยน้ำเสียงอันเปี่ยมด้วยเมตตา ให้เสมือนว่าได้ข่มโทสะจริตเอาไว้อย่างมิดชิดว่าถ้าแค่จัดชั้น ไม่ต้องเรียนจบป.ตรีก็ได้หรอก จบม.3ก็ทำได้คำถามและข้อสงสัยในเชิงว่าเรียนบรรณารักษ์นี้จบไปแล้วจะไปทำอะไรนั้นเป็นคำถามสุดยอดคลาสสิคมาแต่ไหนแต่ไรซึ่งหากจะตอบให้คลาสสิคก็ต้องตอบว่า เรียนบรรณฯ ก็ต้องเป็นบรรณารักษ์สิ ถามได้!!เหมือนเรียนหมอ ก็ต้องเป็นหมอ วิศวะก็ต้องเป็นวิศวะ พยาบาลก็ต้องเป็นพยาบาลแต่นั่นเป็นการตอบพอให้หายรำคาญผ่านๆไปเท่านั้นแท้ที่จริงแล้ว เรียนบรรณารักษ์ สามารถทำงานได้หลากหลาย กว้างขวางมากมาย เลยทีเดียว ในยุคปัจจุบัน ถือกันว่าเป็นยุคแห่งสังคมสารสนเทศ ที่ข้อมูล ข่าวสารมีมากมายหลากหลาย ข้อมูลเหล่านี้มีทั้งในรูปที่จับต้องได้เช่น หนังสือ วีดีโอ เทปเสียง ภาพถ่าย แผนที่ และที่เป็นดิจิทัล เช่น อินเทอร์เน็ท ฯลฯ ข้อมูลเหล่านี้ เกิดขึ้นทุกวัน วันละมากๆเสียด้วย บางครั้งก็มีคุณภาพ บางทีก็ด้อยคุณภาพ บางครั้งมีระเบียบแบบแผน บางทีก็กระจัดกระจายไม่เป็นระบบทั้งๆที่ข้อมูลเหล่านี้มีคุณค่าต่อการตัดสินใจ ในชีวิตประจำวัน ในการดำเนินธุรกิจแต่บางครั้งเราก็ไม่สามารถนำเอาทรัพยากรสารสนเทศที่มีคุณค่าเหล่านี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด อุปมาดังปลาในสระใหญ่ ที่คนไม่มีคนทำอวน ทำแห มาทอดจับไปขายฉันใดก็ฉันนั้น บรรณารักษ์(Librarian)และนักสารสนเทศ(Information Specialist) ก็คือชาวประมงผู้ชาญฉลาด มีเครื่องมือคือแห อวนอันทรงอานุภาพ จับปลาเหล่านั้นมาขาย แล้วไม่ใช่ขายธรรมดา ต้องสามารถจำแนกปลาแต่ละประเภท ได้อีกด้วย เพื่อให้เหมาะกับลูกค้าที่จะมาซื้อหาไปทำการอื่นใดต่อไปโลกปัจจุบันและตลาดงานปัจจุบัน ยังขาดคนเหล่านี้อยู่มาก ทางรัฐบาลเองก็ส่งเสริมการสร้างแหล่งเรียนรู้ ทั้งห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ขนานใหญ่ แล้วใครเล่าใครจะไปทำงานถ้าไม่ใช่ผู้ที่จบในสาขาเหล่านี้บรรณารักษศาสตร์, บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์, บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ , สารนิเทศศึกษา,สารสนเทศศาสตร์ จะชื่อใดก็ตาม ล้วนแต่มีกำเนิดและมีเนื้อหาหลักวิชาตรงกันทั้งสิ้นคือการสร้าง นักวิชาชีพ หรือ มืออาชีพ ในด้านการจัดการข้อมูลข่าวสารให้เกิดระบบตั้งแต่การแสวงหาสารสนเทศการจัดเก็บ การนำออกมาใช้ การให้บริการซึ่งงานลักษณะนี้ สาขาวิชาชีพอื่นๆไม่สามารถจะทำแทนกันได้ ต้องเป็นผู้ที่จบในศาสตร์เหล่านี้จริงๆเท่านั้นดังนั้นหน้าที่จริงๆของบรรณารักษ์จึงไม่ใช่การจัดชั้นหนังสือแต่เป็นการจัดการให้หนังสือแต่ละเล่มอยู่อย่างเป็นระบบในห้องสมุดโดยการวิเคราะห์และกำหนดสัญลักษณ์ คือเลขหมู่ให้หนังสือที่มีเนื้อหาเดียวกันอยู่ด้วยกันสร้างเครื่องมือช่วยค้นให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงหนังสือที่ตัวเองต้องการได้ เช่นการค้นจากคอมพิวเตอร์ และให้บริการตอบคำถาม แก่ผู้ใช้ที่สงสัยเกี่ยวกับสารสนเทศต่างๆวิชาในหลักสูตรนี้ จะมีทั้งวิชาด้านการวิเคราะห์เนื้อหา และการจัดการสารสนเทศประเภทต่างๆเป็นวิชาหลัก เพื่อให้สามารถจำแนกแยกแยะว่าสารสนเทศเนื้อหาแบบใดควรจะจัดการย่างไรให้เหมาะสมกับผู้ใช้และวิชาด้านเทคนิคต่างๆ ซึ่งในปัจุบันต้องเรียนวิชาด้านคอมพิวเตอร์ทั้งการทำเว็บไซต์ การวิเคราะห์และพัฒนาระบบสารสนเทศ ฯลฯ รวมถึงวิชาด้านการประชาสัมพันธ์ และการให้บริการอีกด้วยด้วยเนื้อหาวิชาลักษณะนี้ผู้ที่จบออกไปจึงสามารถนำเอาความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับสารสนเทศที่ไม่ใช่หนังสือได้หลากหลายดังนั้นเราจึงพบว่า ผู้ที่จบบรรณารักษ์ สามารถไปทำงานเป็น นักจัดการข้อมูลในศูนย์ข้อมูลต่างๆได้หรือจะเรียกให้โก้ๆก็ต้องเรียกว่าศูนย์สารสนเทศขององค์กร ต่างๆ มีหลายๆคนก็ไปเป็นนักข่าว , ฝ่ายข้อมูลบริษัทโฆษณา , เว็บมาสเตอร์, เจ้าหน้าที่บริการงานทั่วไป, นักวิชาการสารสนเทศ,อาจารย์ กระทั่งเป็นเจ้าของร้านทอง ก็เป็นร้านทองIT จุดเด่นของสาขาบรรณารักษ์ฯ ก็คือการสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการทำงานลักษณะต่างๆได้อย่างหลากหลายนั่นเองอีกทั้งยังเป็นที่ต้องการของตลาดงานมากโดยเฉพาะตำแหน่งบรรณารักษ์ฯ เนื่องจากคนสนใจน้อยแต่ความต้องการ และการพัฒนาห้องสมุดมีมากนั่นเอง คราวนี้มีมหาวิทยาลัยใดบ้างล่ะที่เปิดสอน ในปัจจุบัน หลักสูตรในสาขาด้านนี้ มีอยู่หลายมหาวิทยาลัยและมีชื่อเรียกขานต่างกัน อาจจะแบ่งได้ดังนี้สาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์หรือ สารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์ เช่น คณะอักษรศาสตร์ ม.ศิลปากร,คณะศิลปศาสตร์ มธ. , คณะมนุษยศาสตร์ มศว., คณะมนุษยศาสตร์ฯ ม.ทักษิณ ฯลฯสาขาสารสนเทศศาสตร์ เช่น คณะมนุษยศาสตร์ฯ มข., คณะมนุษศาสตร์ มช., คณะสารสนเทศศาสตร์ ม.มหาสารคาม, คณะมนุษยศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์, คณะเทคโนโลยีสังคม ม.เทคโนโลยีสุรนารี ฯลฯสาขาสารนิเทศศึกษา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งทั้งหมดล้วนมีรากเหง้าที่มาจาก สาขาบรรณารักษ์ทั้งสิ้น คณาจารย์ส่วนใหญ่ จะสังกัดภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และจบด้านบรรณารักษศาสตร์เป็นส่วนใหญ่ นอกจากระดับปริญญาตรีแล้ว ยังสามารถศึกษาต่อในระดับปริญญาโท เอก ทั้งในและต่างประเทศได้อีกด้วย เมื่อรู้เช่นนี้แล้วกรุณาอย่าคิดว่า จบบรรณารักษ์แล้วต้องจัดชั้นหนังสืออีก ไม่เช่นนั้นคราวหน้าจะเอา LC SUBJECT HEADING ฟาดหัวเสียให้เข็ด
ขอบคุง http://snowrose.exteen.com/20050502/entry